Blogger นี้มีไว้ในการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เนื้อแท้ของผู้นำ

  • มีทฤษฎีและหลักการมากมายที่เสนอแนะ และอธิบายเรื่องราวของผู้นำ บ้างก็กล่าวถึงบุคคลิกลักษณะของคนที่จะเป็นผู้นำ บ้างก็พูดถึงหลักการของการเป็นผู้นำที่ดี บ้างก็เน้นย้ำถึงเรื่องมนุษยสัมพันธ์ของคนที่จะเป็นผู้นำผู้อื่นได้ และมีอีกไม่น้อยที่พูดถึงทฤษฎีต่างๆในการเป็นผู้นำ 
  • แน่ นอน....คนเรายอมรับกันว่า  "ผู้นำ"  ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการฝึกฝนพัฒนา  สั่งสมลักษณะความเป็นผู้นำมาทั้งด้านความรู้  ความเข้าใจ  ทัศนคติ  ความชำนาญในการประพฤติปฏิบัติ  และนิสัยในการแสดงออก  ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์จะถูกหล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อม  และปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เสมอ  อันเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
  • จาก มนุษย์คนหนึ่งที่ถือกำเนิดเกิดมา  ถูกหล่อหลอมฟูมฟักในวัยทารก  วัยเด็ก  วัยรุ่น  และวัยผู้ใหญ่  ผสมผสานเข้ากับการได้รับการฟอกย้อมจากปฏิกริยาโต้กลับของสิ่งแวดล้อม  บวกเข้ากับความพอใจและความไม่พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น  รวมเข้ากับผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติในแต่ละครั้ง  แปรเปลี่ยนเป็น  ความตั้งใจ  ไม่ตั้งใจ  เอาใจใส่  ละเลย  หรือก้าวร้าว  ถดถอย  จนกลายเป็นบุคคลิกของมนุษย์ที่เป็นผู้นำในปัจจุบัน
  • ผู้ รู้ในโลกของชีวิตจริงในด้านการบริหารและการจัดการจึงได้แยกแยะ  อธิบาย  "เนื้อแท้ของผู้นำ" (Ingredients  of  Leader)  ซึ่งหมายถึงส่วนผสมต่างๆของผู้นำที่แท้จริงว่ามีดังนี้
    1. สำนึกในพันธะผูกพัน (Commitment)  ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้  จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีสำนึกว่าตนผูกพันอยู่กับสิ่งที่ได้กระทำ  ประพฤติ  พูด  หรือแสดงออกไป  คนที่พูดพล่อยๆ  สักแต่ให้ได้พูดสัญญาลอยๆ  เพียงเพื่อเอาตัวรอด  โยนความผิดให้ผู้อื่น  ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าตนผิด  ปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งๆที่รู้ว่าตนเป็นผูกระทำเหล่านี้เป็นผู้นำไม่ได้  ใครที่ไว้วางใจให้คนประเภทดังกล่าวเป็นผู้นำ  ก็จะเกิดความสับสนวุ่นวายในสังคม    มีคนถามว่า  "ถ้ามีสำนึกในพันธะผูกพัน"  คนเราจะรับภาระไหวหรือ  ถ้ารับผิดชอบไม่ได้ก็ไม่ควรทำ  ถ้าปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่ควรสัญญา  ถ้าลั่นวาจาแล้วทำไม่ได้ก็ควรจะสงบปากสงบคำเสียบ้าง  โดยเหตุ ที่คำพูดและการกระทำของคนที่เป็นผู้นำ  เป็นหัวหน้า  หรือเป็นผู้บังคับบัญชา  มีอิทธิพลต่อทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา  และต่อองค์การใหญ่โดยรวม  คนที่จะเป็นผู้นำได้ดี  จึงต้องมีสำนึกแห่งความรับผิดชอบ  (Accountability)  ในสิ่งที่ได้กระทำลงไป  คนที่ลุอำนาจโทสะ  ยับยั้งใจไม่ได้  แล้วทำอะไรลงไปอย่างผิดๆ  เมื่อผลลัพธ์ออกมาเสียหาย  กลับไม่ยอมรับ...  ตนเองยังนำวิถีจิตใจของตนเองไม่ได้....  แล้วจะเป็นผู้นำใครอีกหรือ 
      • ถ้า ชายคนหนึ่งได้เสียเป็นเมียผัวกับหญิงหนึ่ง  สนุกกับความรักจนลืมตัว  ผู้หญิงตั้งท้องขึ้นมา  เมื่อบอกเล่าให้ชายคนรักฟัง  ชายนั้นกลับไม่ยอมรับ  หรือยอมรับไม่ได้  อ้างว่ายังไม่พร้อมบ้าง  อ้างว่ายังไม่ถึงเวลาบ้าง  เคยคิดสักนิดหรือไม่ว่า  ก่อนจะทำลงไปเคยทักท้วงตนเองไหมว่า  "ยังไม่พร้อม  ยังไม่ถึงเวลา"  ถ้าขนาดเลือดในอกที่ผลิตออกมาเป็นทารกลืมตาดูโลก  ยังยอมรับไม่ได้ว่าเป็นของตัว  อย่าว่าแต่ชายนั้นจะเป็นผู้นำกลุ่มชนไม่ได้เลย  ความเป้น  "ชาย"  ยังไม่มีเลยด้วยซ้ำไป  จริงอยู่  การยอมรับผลการกระทำของตัวเองอาจทำให้เจ็บปวด  อาจทำให้สูญเสียผลได้  สูญเสียผลประโยชน์  เกียรติยศ  หรือแม้กระทั่งเสียทรัพย์  หรือชีวิตของตนเองไป  แต่ถ้าทุกคนที่วาดฝันจะเป็นผู้นำในอนาคต  ตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น  แล้วยับยั้งชั่งใจใช้วิจารณญาณก่อนที่จะพูดหรือกระทำอะไรลงไป  หรือใช้บทเรียนและความเสียหายที่ตนได้มีประสบการณ์  แก้ไขไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก  ผู้นั้นก็จะพัฒนาสำนึกแห่งพันธะผูกพัน  ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้นำในเนื้อแท้ประการแรกนี้ได้
    2. ความคงเส้นคงวา  (Consistence) คน ที่เป็นผู้นำ  จะต้องมีความสามารถในการรักษาอารมณ์ไม่ให้แปรปรวน  ข่มความโกรธ  ความเกลียดชังได้  ไม่ให้แสดงออกอย่างไม่เหมาะสม  ความรัก  ความเกลียดชัง  ความรู้สึกชอบ  ไม่ชอบ  ความผูกพัน  ห่างเหินเป็นไปตามอารมณ์ของมนุษย์  แต่ในสภาพความเป็นผู้นำ  " ยามรักชอบชมเชย  แนะนำ  ยกย่องส่งเสริมให้ได้ดี  ยามเบื่อหน่ายชิงชัง  จะต้องไม่ด่าทอนินทาให้เสียหาย "  หากเราแสดงออกก็เท่ากับประจานตัวเอง  "  เมื่อรักใคร่ชอบพอ  ดี  พอมาถึงตอนนี้ด่าทอประจาน "  กลายเป็นคนมีอารมณ์แปรปรวน  เอาอะไรแน่ไม่ได้  คนประเภทนี้เป็นผู้นำไม่ได้  หากเป็นผู้นำแล้วขาดความคงเส้นคงวา  ก็เอาแต่อารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง  ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ฉลาดแกมโกงก็จะทำทุกอย่างเพียงเพื่อความถูก ใจ  เพื่อสนองอารมณ์แปรปรวนนั้น  "ความถูกต้อง"  ก็จะลดลง  มุ่งแต่จะสร้าง " ความถูกใจ"  อย่างเดียว  ปลายทางของหัวหน้าหรือผู้นำที่ไม่คงเส้นคงวาเก็บความรู้สึกไม่ได้ก็คือ "ถูกหลอกจนเสียคน"  มามากต่อมากแล้ว  ผู้นำที่คงเส้นคงวา  จะยกย่องส่งเสริมผู้ที่ทำดี  ทำถูกต้อง  ไม่นินทาด่าทอผู้ที่ตัวเองเกลียดชังทำเฉยไม่มีปฏิกิริยากับคนที่ตนเองเกลียด ชัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาชิกในทีมหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่หรือเคยอยู่ใน สังกัดของตน
    3. ความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใต้สภาวะซับซ้อน  (Complexity)  ซุน วู  ปราชญ์เอกคนหนึ่งของจีนกล่าวว่า  " ยอดไม้ใด  ทอยอดขึ้นสูงเพียงใด  ย่อมปะทะลมแรงมากขึ้นเพียงนั้น "  ผู้ที่เป็นผู้นำ  ยิ่งเป้นผู้นำระดับสูงขึ้นเพียงใด  ปริมาณขีดจำกัดและความซับซ้อนของงาน  ก็ย่อมจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจึงต้องจัดระบบข้อมูลในสมองได้ดี  จัดช่องทางการนำความจำ  ความคิด สติปัญญา  และประสบการณ์  มาใช้ได้อย่างถูกจังหวะ  และเหมาะสม  ไม่ถูกปัญหารุมเร้า  จนถูกปัญหาป้อนเข้ามุมอับ  ก่อให้เกิดการเก็บกดบีบคั้น  จนเกิดความเครียดสูง  หรือเกิดแรงกดดันจนระบายพฤติกรรมออกทางทำลาย (Destructive  Behavior) ออกมา  ผู้ที่ฝึกฝนการวิเคราะห์ปัญหา  การแก้ปัญหา  และการตัดสินใจอย่างมีระบบ  จนเกิดความคล่องแคล่วในการเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  หาสาเหตุของปัญหา  หาแนวทางในการแก้ปัญหา  และตัดสินใจลงมือแก้ปัญหา  จะเป็นผู้ที่มีความมั่นคงสูง  และสามารถปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะซับซ้อนมากๆ  ได้มากๆขึ้นเสมอ
    4. มีความเชื่อถือศรัทธา  (Credibility)  ภาพพจน์ (Image)  ของผู้นำ  เป็นผลอันเกิดจากการผสมผสานของความเป็นจริง  (Reallity)  ของผู้นำเองกับความคาดหวังของสังคม  (Social Perception)  ผู้นำที่สามารถจะสร้างความเชื่อถือได้  จึงสร้างการยอมรับจากสังคมได้และจะสามารถโน้มน้าวแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม ได้ง่าย  ความเชื่อถือศรัทธาสามารถสร้างได้ดังนี้
      1. ด้านสติปัญญา   (Intellectual  Credit)  ผู้นำที่จะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองให้มี สติปัญญา  มีข้อมูล  มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์  เพราะจะทำให้สามารถแก้ปัญหาให้แก่ทีมงานได้อย่างฉลาด  และมีประสิทธิภาพ  ผู้นำที่ไม่ฉลาด  ไม่รอบรู้และไม่ทันเหตุการณ์  นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้  หรือได้ไม่ดีเท่าที่ควรแล้ว  ยังกลายเป็นตัวตลกให้สมาชิกในทีมเยาะหยันอีกด้วย
      2. ด้านเศรษฐทรัพย์ (Economical  Credit)  ผู้ที่จะเป็นผู้นำ  เป็นหัวหน้างานเป็นผู้บังคับบัญชา  และเป็นผู้บริหาร  จะต้องไม่มีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆ  ต้องรู้จักประหยัดอดออม  สร้างฐานะของตัวเองให้มั่นคงก้าวหน้าสืบไป  หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา  ที่ยืมเงินพนักงาน (จะเสียดอกหรือไม่ก็ตาม)  เป็นหัวหน้าวงแชร์  เดินโพยหวยใต้ดิน  หรือมีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว  จะเป็นผู้นำที่ดีและประสบความสำเร็จไม่ได้  เนื่องจากผู้บังคับบัญชาไม่เชื่อฟัง  จะดูแคลนและนินทาว่าร้ายให้เจ็บอายได้อีกด้วย
      3. ด้านบุคคลิกภาพ (Personality  Credit)  บุคคลิกภาพประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา  การแต่งกาย  การแสดงออก  การใช้สิ่งของอุปกรณ์  และนิสัยในการกินอยู่  และการคบค้าสมาคมกับคนรอบข้าง  ผู้นำจำเป็นต้องรักษาสุขภาพกาย  สุขภาพจิตให้สมบูรณ์อยู่เสมอ  ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส  แต่งกายสะอาดถูกกาละเทศะ  และมีรสนิยม  ทรงผม  การแต่งหน้าเสริมสวย  ประทินผิวแต่พองาม  พอเหมาะ  ตลอดจนฝึกนิสัยการรับประทานอาหาร  การพูด  การแสดงให้เหมาะให้ควร  ผู้ที่นึกจะพูดอะไรก็พูดออกมา  โดยอ้างว่า  " จริงใจ  รู้สึกอย่างไรก็พูดอย่างนั้น"  เป็นเพียงการแก้ตัว  เพราะ  "ความจริงใจ"  กับ "ความปากหมา"  ห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้น  และเมือพูดออกมาทำให้เสียบุคคลิก  ขาดความเชื่อถือจากผู้ใต้บังคับบัญชา  ผู้ที่จะเป็นผู้นำ  โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง  จึงควรได้รับการฝึกฝน  ทั้งในด้านการแต่งกาย  การแสดงออก  และการพัฒนาบุคคลิกภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกการพูดและการแสดงออกต่อชุมชน
      4. ชื่อเสียงและภาพพจน์  (Reputation  Credit)  ส่วนใหญ่ชื่เสียงและภาพพจน์  มักเกิดจากประวัติความสำเร็จ  ความล้มเหลวที่ผู้นำได้สั่งสมมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่าขานถึงสิ่งที่เคยกระทำ  ผู้นำจะบอกว่า  "นอกเวลางานเป็นเรื่องส่วนตัว  จะทำอะไรตามใจตัวเองได้ทุกอย่าง"  ไม่สามารถจะพูดหรือกระทำได้  เพราะคงไม่มีผู้บังคับบัญชาคนใด  ปรารถนาจะอยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของหัวหน้าที่มีแต่คำเล่าขานในทาง ที่ไม่ดี  ชื่อเสียง  และภาพพจน์  เป็นภาพที่ผู้อื่นเข้าใจในตัวผู้นำและนำไปเล่าขานต่อ  ถ้าผู้พบเห็นสมหวัง  ชื่นชม  นำไปเล่าขานต่อที่ไหน  เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ยินเข้าก็จะยิ้มแย้มแจ่มใส  มีความภูมิใจที่จะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา  ยิ่งมีตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้นเท่าใด  ยิ่งต้องระวังตัว  ระวังชื่อเสียงของตัวเองเท่านั้น  โดยเหตุที่ผู้นำ  จะต้องอาศัยสมาชิกในทีมช่วยสร้างความสำเร็จและผลงานให้แก่ตน  ผู้นำที่ฉลาดจึงต้องสร้างความมั่นใจ  ตั้งใจ  จริงใจ  และภูมิใจให้เกิดแก่สามชิกในทีมให้ได้  จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำที่มีเนื้อแท้ของความเป็นผู้นำโดยสมบูรณ์

ผู้นำที่ดี

    1. ต้องตระหนักและแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นส่วนมากมาจากสมาชิกของกลุ่ม
    2. ไม่จำเป็นต้องตำหนิติเตียนความผิดของหัวหน้าคนก่อนหรือผู้นำคนอื่น
    3. ทำหน้าที่เป็นกันชนระหว่างกลุ่มกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป  โดยไม่ผลักหรือโยนความผิด  หรือความกดดันไปให้ผู้บังคับบัญชา
    4. ละวางปัญหาและอารมณ์ส่วนตัว  เสียจากความสัมพันธ์กับพนักงาน  ตรงกันข้ามพยายามรักษาความเยือกเย็น  และความเข้าใจที่ดีเอาไว้
    5. หลีกเลี่ยงการสร้างอภิสิทธิ์ชน  แต่ต้องพยายามรักษาความยุติธรรม
    6. ทำตัวให้พบง่าย  และพยายามทำความเข้าใจ  เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการความช่วยเหลือ
    7. วางตนเป้นตัวอย่างที่ดีแก่กลุ่มเสมอ
    8. มั่นคงและทำตัวสงบ  เมื่อเกิดความหวาดกลัวหรือกระวนกระวายใจ

เงื่อนไข (MANDATORY CONDITIONS) ในการพัฒนาทีมงานให้มีเอกลักษณ์ มีพลังและมั่นคงถาวร

  1. ลักษณะของทีมงานที่ประสบความสำเร็จ
ทีมงานที่มีเอกลักษณ์  มีพลัง  และมีความมั่นคงถาวร  ที่สร้าง  รักษา  และพัฒนาความสำเร็จได้ยิ่งๆขึ้นไปนั้น  จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
  1. มี ระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน  สมาชิกในทีมแต่ละคนยินดีและเต็มใจ  จริงใจในการปฏิบัติตามกฏ  ข้อบังคับ  ระเบียบวินัย  และข้อควรประพฤติปฏิบัติของทีมงาน
  2. มีความภูมิใจและยินดีที่จะปฏิบัติงานร่วม  ประสานความคิด  ประสานใจ  และประสานประโยชน์เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน
  3. ยกย่องให้เกียรติแก่กันและกัน  ตลอดจนให้ความเคารพ  เชื่อถือในอาวุโสของสมาชิกในทีม  และยอมรับความคิดเห็นของซึ่งกันและกัน
  4. มีการติดต่อสื่อสาร  ด้านข้อมูล  ข่าวสาร  ความก้าวหน้า  และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยทั่วถึง  ทันการณ์และกระจ่างชัด
  5. มี ความผูกพันระหว่างสมาชิกในทีม  ทุกคนมุ่งส่งเสริมสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน (ยินดีที่สมาชิกในทีมประสบความสำเร็จ  แนะนำ  แก้ไข  และให้กำลังใจ  เมื่อสมาชิกในทีมผิดพลาดบกพร่อง)
  6. มุ่งความสำเร็จในเป้าหมายรวมของทีมงาน  ยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนน้อยของตน  เพื่อประโยชน์สุขและความสำเร็จของสมาชิกส่วนใหญ่ของทีม
  7. จริงจังและจริงใจ  อดทนและขยันหมั่นเพียร  ที่จะสร้างความสำเร็จร่วมกัน (ไม่ถือเขาถือเรา)
  8. คิดค้น  แสวงหาและพัฒนาความสามารถและประสิทธิภาพของตนเอง  ของสมาชิกทุกคนในทีม  และของทีมงานโดยรวมตลอดเวลา
  9. วางแผน  คำนวณ  ทบทวน  และชี้แจงแนวกลยุทธ์  วิธีการทำงานและผลงานร่วมกันทุกระยะ
  10. แบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์ในทุกๆด้าน  โดยชอบธรรม  และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
    2.    กระบวนการในการสร้างทีมงานที่มีเอกลักษณ์
    1. กำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้แน่นอนและกระจ่างชัด
    2. เขียนและปลูกฝังจรรยาบรรณของทีมงานให้แก่สมาชิกในทีมได้รับทราบเข้าใจและยึดถือ
    3. คัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมทีมอย่างมีระบบ  คงเส้นคงวา  และเปิดเผย
    4. ต้อนรับและทำการปฐมนิเทศสมาชิกใหม่อย่างจริงจัง  และสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกสัมผัส
    5. ดูแลเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำให้แก่สมาชิกใหม่ปรับตัวได้ในระยะแรก
    6. ดำเนินการฝึกอบรมเบื้องต้น  ปลูกฝังให้สมาชิกภูมิใจ  รัก  ผูกพัน  และรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของทีมงานอย่างจริงจัง
    7. ฝึกฝนและฝึกหัดให้สมาชิกมีความสามารถในการสร้างความสำเร็จในภารกิจและบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    8. ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของสมาชิกในทีม  พร้อมทั้งจัดระบบค่าจ้างค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
    9. ทบทวนนโยบาย  การกำหนดเป้าหมาย  และปรับปรุงแนวกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์  ทุกๆ  3  ปี
    10. รักษาเครือข่ายการสื่อสาร  และแจ้งข้อมูลความก้าวหน้าให้สมาชิกทั้งหมดทราบเป็นระยะๆ
      3.   เงื่อนไขการดำเนินการ
  1. จัดฝึกอบรมทั้งด้านเทคนิคและการจัดการให้สอดคล้องเติบโตไปด้วยกัน
    1. ฝึกอบรมทั้งด้านเทคนิคและการจัดการให้สอดคล้องเติบโตไปด้วยกัน
    2. จัดระบบการฝึกอบรมตำแหน่งต่างๆอย่างมีขั้นตอน
    3. ใช้ระบบคะแนนในการวัดคุณภาพพนักงาน
  2. สร้างตัวแบบ (MODEL) และพัฒนาตัวแบบอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง
    1. สร้างพี่เลี้ยงตัวแบบถาวร
    2. รักษาและพัฒนาคุณภาพพี่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
    3. มี  INCENTIVE  ให้พนักงานพี่เลี้ยง
  3. จัดบรรยากาศในการทำงานให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างมั่นคงถาวร
    1. รักษาเอกภาพในการบริหารและการจัดการ
    2. ใช้ระบบหนึ่งเดียวในการบริหารงานบุคคล
    3. พัฒนาบุคคลากรของสายงานบุคคลอยู่เสมอ
  4. จัดระบบการบริหารงานบุคคลที่สอดคล้องและส่งผลเกื้อกูลต่อการพัฒนากำลังคน
    1. จัดระบบการสรรหาและคัดเลือกบุคคล
    2. จัดระบบการปฐมนิเทศ
    3. สร้างกำลังคนทดแทนสำรอง
  5. จัดประชุมกันในระดับต่างๆ  เป็นระยะๆ
    1. มีการประชุมแม่ทัพนายกองเพื่อปรับนโยบาย
    2. อาศัยความคิดเห็นพนักงานเป็นแนวทาง
  6. ฝ่ายจัดการต้องตื่นตัว  ปรับนโยบาย  และรักษาข่ายการประสานงานอย่างสม่ำเสมอ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ และสมมุติฐานของสมาชิกในองค์กร สร้างความผูกพันในการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ที่สำคัญ
      ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อผู้ตาม แต่อิทธิพลนั้นเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ตามให้กลับกลายมาเป็นผู้นำ และผู้ที่เปลี่ยนแปลงหน่วยงานในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงองค์กร ดังนั้นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงได้รับการมองว่าเป็นกระบวนการที่เป็นองค์รวม และเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของผู้นำในระดับต่างๆในหน่วยงานย่อยขององค์กร
         จากการวิจัยพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพบว่า “ผู้นำจะมีการถ่ายโอนหน้าที่,ความรับผิดชอบและอำนาจที่สำคัญ และขจัดข้อจำกัดการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป ผู้นำมีการดูแลสอนทักษะให้แก่ผู้ตามที่มีความจำเป็นต้องแก้ปัญหา ต้องการการริเริ่ม การกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญ การกระตุ้นการแข่งขันความคิด การตระหนักในข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมความร่วมมือ และการทำงานเป็นทีม รวมทั้งส่งเสริมการแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ในการบริหารความขัดแย้งต่างๆ ผู้นำจะทำการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และระบบการบริหาร เพื่อเน้นและสร้างค่านิยมและวัตถุประสงค์หลักขององค์กร
           ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) จึงประกอบไปด้วย
1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) หรือการมีคุณลักษณะพิเศษ (Charisma) ที่มีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารอารมณ์และมีจริยธรรม
2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation) เป็นการจูงใจให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยการสร้างแรงจูงใจภายใน การสร้างเจตคติและการคิดในแง่บวกและกระตุ้นจิตวิญญาณของทีม (Team Spirit) ให้มีชีวิตชีวา
3. การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นการกระตุ้นความพยายามของผู้ตาม เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และสร้างสรรค์ เพื่อการตระหนักรู้ในเรื่องปัญหา กระตุ้นให้มีการตั้งข้อสมมุติฐาน เปลี่ยนกรอบการมองปัญหา และมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
4.การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) เป็นการปฏิบัติต่อบุคคลในฐานะที่เป็นปัจเจกชน การเอาใจใส่ดูแลคำนึงถึง ความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการติดต่อสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีการแนะนำและการมอบหมายงาน มีการพัฒนาหรือสนับสนุนในการทำงานเพื่อให้บุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายของส่วนตนและส่วนรวม

ทำไมพนักงานจึงออกจากองค์การไปเสียล่ะ ?

ทุกองค์กรในปัจจุบัน ต่างก็กำลังเผชิญปัญหาการออกจากงานของพนักงานในองค์กร เพื่อไปทำงานที่มีรายได้ดีกว่า หรือ ได้งานที่ดีกว่า
                เมื่อต้นปีที่แล้ว    นายมาร์ค (Mark)    ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่อาวุโสออกแบบซอฟท์แวร์ (Senior Software Designer) ได้รับการตอบรับจากธุรกิจข้ามชาติที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งว่า ให้ไปทำงานกับฝ่ายพัฒนาซอฟท์แวร์เฉพาะ ทางที่อินเดีย  ซึ่งทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นยินดีกับข้อเสนอดังกล่าวเป็นล้นพ้น   ก็จะไม่ให้ตื่นเต้นเป็นล้นพ้นได้อย่างไรล่ะ
               ในเมื่อเขามีข้อมูลอย่างเพียงพอ เกี่ยวกับความสามารถและชื่อเสียงของกรรมการผู้จัดการขององค์กรแห่งนี้   บวกกับข้อเสนอที่เป็นค่าตอบแทนที่สูงมาก    อีกทั้งเป็นองค์กรที่เป็นระบบ มีนโยบายการสร้างมิตร ในระหว่างผู้คนที่ทำงานอยู่ด้วยกัน   มีสำนักงานใหม่ที่โอ่โถง     มีเทคโนโลยี่ที่สุดทันสมัย  แม้แต่ห้องอาหารสำหรับพนักงานก็บริการด้วยอาหารชั้นยอด   เมื่อมาร์ค เข้าร่วมงานกับองค์กรแห่งนี้ เขาถูกส่งไปเข้ารับการฝึกอบรมต่างประเทศที่ทำให้เขา
มีความรู้สึกว่า ระดับการเรียนรู้ของเขาโดดเด่นที่สุดในชีวิตที่ผ่านมา
                เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งนับเวลาได้ประมาณเพียงเกือบแปดเดือนที่มาร์คเข้าร่วมงานกับองค์กรแห่งนี้ มาร์คได้ลาออกไปเรียบร้อยแล้ว
               ทำไมพนักงานเก่ง ๆ ดี ๆ เหล่านี้จึงออกไปเสียล่ะ ?
 นายอรุณ ก็จากองค์กรแห่งนี้ไปด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันกับมาร์คและพนักงานคนอื่น ๆ ที่ลาออก
                   คำตอบจากผลการวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของแกลล็อป  องค์กรอิสระการด้านศึกษาวิจัยระดับโลกยืนยันว่า  จากการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานกว่า  1  ล้านคนและผู้จัดการกว่า  8  หมื่นคนทั่วโลก  ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือที่ชื่อ    ประการแรกคือ  จะต้องยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ  เสียก่อน ( First  Break  All  the  Rules)    ซึ่งพบว่า  เมื่อองค์กรกำลังจะสูญเสียพนักงานเก่ง ๆ  ดี ๆ  ไป        ให้หันไปพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรง   ของพนักงานคนนั้น    เพราะหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงนั่นแหละ   ที่จะทำให้คนอยู่และสนุกกับองค์กร     และก็หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาโคยตรงอีกนั่นแหละ  ที่เป็นสาเหตุหลักให้คนออกจากงานไป   เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อพนักงานออกจากองค์กรไป  ต่างก็ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์และการติดต่อประสานงานต่าง ๆ  ไปอยู่กับคู่แข่งขันของเราด้วย
   คนจึงลาออกจากการเป็นลูกน้องของหัวหน้างาน      ออกจากการเป็นลูกทีม ของผู้จัดการ  มิได้ลาออกจากองค์กร    มาร์คัส  บัคกิ้งแฮม (Marcus  Buckingham) และเคิร์ท  คอร์ฟแมน  (Curt  Coffman)  ยืนยัน
               
                ผู้จัดการและหัวหน้างานจำนวนมากเป็นผู้ที่ผลักดันให้พนักงานออกจากงาน
             ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ต่างยืนยันตรงกันว่า  การใช้อำนาจและพฤติกรรมที่ผิดๆ  ของผู้จัดการและหัวหน้างานเป็นสิ่งที่พนักงานหมดความอดทนที่จะอยู่ต่อไป    ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็อาจจะยังพอทนได้  แต่พนักงานจะเริ่มได้รับการปลูกฝังความรู้สึกที่ผิดๆ  เข้าไปแล้ว    พอเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง  ก็ยืนยันว่าที่คิดไว้ในครั้งแรกนั้นไม่ผิด    พอเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามพนักงานก็จะเริ่มหางานใหม่
                ถ้าพนักงานไม่สามารถแสดงความโกรธออกมาอย่างเปิดเผยได้  เขาก็จะแสดงอาการออกมาอย่างเงียบๆ  โดยการเมินเฉยต่อคำสั่ง  หรือปฏิบัติงานช้าลง   หรือจะทำงานตามที่ได้รับคำสั่งเท่านั้น  ไม่ทำอะไรนอกเหนือไปกว่านั้น  กลายเป็นการละเว้นที่จะให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่ผู้บังคับบัญชา 
                 เดฟ (Dev)  ยืนยันว่า  ถ้าคุณเพียงแต่ให้คนทำงานเพราะหน้าที่  คุณก็จะพบแต่ปัญหา  เพราะคุณไม่ได้เอาหัวใจหรือจิตวิญญาณของพนักงาน   ใส่ลงไปในงานนั้นด้วย            (If  you  work  for  jerk, you  basically  want  to  get  him  into  trouble. You don’t  have  your  heart  and  soul  in  the  job)
                ผู้จัดการและหัวหน้างานต่างๆ  อาจผลักดันให้พนักงานออกจากงานในลักษณะที่แตกต่างกัน  ผู้จัดการบางคนอาจควบคุมเคร่งครัดจนเกินไป  บางคนก็เอาแต่ระแวงสงสัยในตัวพนักงาน  บางคนก็เร่งรัดงานจนเกินกำลัง      บ้างก็ชอบวิพากวิจารณ์ลูกน้อง  แต่ทั้งหมดนั้นคงจะลืมคิดไปว่า   มนุษย์หรือลูกน้องตัวเองนั้นไม่ใช่ตึกรามบ้านช่องที่รื้อถอนไปไม่ได้  แต่มนุษย์หรือพนักงานเป็นชีวิตอิสระ  ที่เขย่าแรงๆไม่กี่ครั้งเขาก็จะถอยหนีจากไป      ด้วยความเหลือทนที่จะทำงานอยู่กับหัวหน้าคนนั้นอีกต่อไป
                                   
 คนเก่งคนดี  มักจะเป็นคนที่จากไป  ส่วนไม้ตาย (Dead  wood)    ที่ไม่ค่อยจะเอาไหน  มักจะ  เป็นคนที่อยู่ทน

                                                                      แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไปดี .................?

               


               

ศาสตร์แห่งความมั่งคั่งร่ำรวย (The Science of Getting Rich – SOGR)

ศาสตร์แห่งความมั่งคั่งร่ำรวย (SOGR) เป็นศาสตร์ว่าด้วยกระบวนการและวิธีการปรับสภาพกาย (Body)     จิต (Mind) และวิญญาณ (Soul) ให้เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน (Harmony) จนเกิดสมดุลย์ในอันที่จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบและมีความสุข ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการสร้างพลังเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ตัวเอง
                ด้วยกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้เราสามารถควบคุมและกำหนดอนาคตของเรา ได้     ทั้งๆ ที่เราพยายามแสวงหาแนวทางดังกล่าวมาแล้วในอดีตแต่ไม่ได้ผล เนื่องจากเรามุ่งแต่จะทำให้ตัวเองรู้สึกดีไปวัน ๆ โดยไม่ได้สร้างความรู้สึกที่ดีอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น
                ความรู้สึกที่ดีต่อตัวเราเอง ต่อคนรอบข้าง ต่อสิ่งต่าง ๆ และต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราจะทำให้ตัวเราเกิดการผสานสอดคล้อง กับจักรวาลอันจะส่งผลให้เกิดพลังในการประจักษ์แจ้งและสร้างสรรค์ได้ตามที่ใจ ปราถนา
                ขอให้เข้าใจชัดเจนก่อนว่า ทุกคนอยู่ในโลกของความหลากหลาย ความคิดเดิม ๆ เกี่ยวกับความยากลำบากจึงควรจะถูกกำจัดออกจากสำนึกของเราไปได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เราพบว่าความผิดพลาดล้มเหลวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงข้อมูลข่าวสารประเภทหนึ่งที่เราสามารถมองเห็นคุณค่าของข้อมูลข่าว สารนั้น โดยการรู้จักมองคุณค่าให้เห็นและใช้ประโยชน์จากมันให้ได้
                ทุกคนจะถูกฝึกฝนให้คิดให้ได้ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานะใดในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นคนมีงานทำ ไม่มีงานทำ ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ทำงานเป็นบางเวลาก็ตาม เราก็สามารถเปลี่ยนสถานะของเราได้ โดยการทำความเข้าใจตัวเองให้กระจ่าง แล้วคิดการณ์ให้ไกล มุ่งใฝ่คว้าให้สูงเข้าไว้ แล้วกฎแห่งธรรมชาติก็จะนำพาเราไปสู่สถานะที่สูงขึ้น
                เราจะได้รับการฝึกฝนให้ตระหนักชัดได้ว่า พลังของความคิดจะช่วยให้เราคิดสร้างสรรค์และมองเห็นวิสัยทัศน์ของเราอยู่ ข้างหน้า แล้วจะตระหนักชัดว่าถ้าเราอุตส่าห์เรียนรู้และฝึกฝนการปรับสภาพกาย จิต และวิญญาณของเราให้เกิดสมดุลย์และเป็นสุขนั้นจะไร้ค่าโดยสิ้นเชิงถ้าเราไม่ ได้นำไปใช้ในการปฏิบัติจริงให้เกิดผลในชีวิตประจำวัน
                ขอให้จำไว้เสมอว่า จิตใจที่เป็นสุขและความรู้สึกที่ดีจะทำให้เรารู้จัก “การให้” และเมื่อเราเกิดความตั้งใจที่จะให้เราก็จะ “ได้รับ” โดยอัตโนมัติ เพราะการให้ที่มิได้คาดหวังการได้รับการตอบแทนนั้นจะส่งผลตอบแทนกลับมาหาเรา เสมอ แม้ว่าบางครั้งอาจใช้เวลายาวนานบ้าง แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจะมากมายเป็นเท่าทวีคูณ จิตใจที่มีความสุขจริง จึงต้องเป็นการให้ที่ต้องไม่คาดหวังวันเวลาของการได้รับผลตอบแทน
                ถ้าเราอ่านหนังสือแล้วเราฝึกปฏิบัติเพียงลำพังก็มักจะพบว่าคนรอบข้างอาจไม่ มีใครเข้าใจเรา การได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติกับคนที่มีหัวอกอันเดียวกันกับเรา จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้การฝึกฝนเกิดผล มีความหมายและการประยุกต์ใช้จะดำเนินไปได้ง่ายขึ้น
                การมีตำราปรุงอาหารและมีส่วนประกอบของอาหารที่จะปรุงพร้อมแล้วนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะปรุงอาหารได้อร่อย การเรียนรู้ทั้งโดยการฝึกฝน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการได้ทดลองทำจริงต่างหากที่จะทำให้เราได้ลิ้มรส อาหารจานเด็ดที่เราตั้งใจใฝ่ฝัน
                ศาสตร์แห่งความมั่งคั่งร่ำรวย ก็เช่นเดียวกัน จะเกิดผลสำเร็จอย่างแท้จริงกับชีวิตเราได้ก็ต่อเมื่อต้องมองให้ทะลุปรุโปร่ง และต้องลงมือปฏิบัติจริงเท่านั้น

HRM และ HRD: ทำความรู้จัก HR ให้ดีขึ้น

วันนี้ ขออธิบายถึงเนื้อในจริงๆของคำว่า "ทรัพยากรมนุษย์" หรือ Human Resource (HR) เพราะหลายๆองค์กรโดยเฉพาะองค์กรธุรกิจระดับท้องถิ่นชุมชนนั้นมักมองข้ามไป


HR คืออะไร
HR หรือ Human Resource "ทรัพยากรมนุษย์" ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือ "ทรัพยากร" เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญขององค์กร เพราะเป็นทรัพยากรที่ดำเนินขับเคลื่อนองค์กรให้เดินต่อไปได้ ทรัพยากร ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ น้ำ ไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน นั้นถือว่าเป็นทรัพยากรที่เราสามารถใช้เงินซื้อมาได้ แต่ทรัพยากรมนุษย์หรือพนักงาน (ไม่ว่าจะระดับใด) นั้นถือว่าสำคัญมาก ไม่สามารถใช้เงินซื้อมาได้ (เงินเดือนไม่สามารถซื้อทุกอย่างได้) ดังนั้นองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับคนหรือพนักงานมาก ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่ระดับประเทศนั้นได้ให้ความสำคัญของคนมากขึ้่น ไม่ใช่มาทำงานได้เงินเดือนแล้วกลับบ้าน แต่จะต้องสร้างให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรด้วย จึงจะถือว่าคนนั้นเป็นมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ซึ่ง ยังมีอยู่หลายๆองค์กรที่เห็นว่าพนักงานเป็นแค่คนที่มาทำงานให้แล้วจ่ายเงิน เดือนไป โดยไม่คิดจะพัฒนา สร้างความมั่นคงให้กับพนักงาน ซึ่งผลที่จะกลับมาคือพนักงานขาดความจงรักภักดีต่อองค์กร


HR ประกอบด้วยอะไร



จริงๆแล้ว HR หรือ ทรัพยากรมนุษย์ นั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1. Human Resource Management, HRM หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสรรหาบุคากรเข้าองค์ การคัดเลือกบุคลากร การประเมินผลการทำงาน หรือจะเป็นพวกขาด ลา มาสายหรือการลาออก (Turn Over) ซึ่งก็จะเป็นเรื่องที่องค์กรต่างๆนั้นมีอยู่แล้ว
2. Human Resource Development, HRD หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลการที่มีอยู่ในองค์กรให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น โดยเน้นไปที่การพัฒนาในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะเป็นเรื่องของการอบรม (Training) เป็นหลักเพื่อเพิ่มความรู้ของพนักงานที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ในส่วนของการพัฒนาระยะยาวก็คือ การส่งเสริมด้านการศึกษา (ส่งเรียนต่อเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจ) หรือการส่งเสริมการทำวิจัยในองค์กร การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Management) การพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Career Path) เป็นต้น


ใน ทั้งส่วนของ HRM และ HRD นั้นหลายๆองค์กรนั้นได้มีการปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่รู้ หรือไม่ได้เน้นมากเท่าที่ควรเพราะมัวแต่เน้นการผลิต ผลิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีการผลิตใดที่จะให้ได้ผลลัพธ์มากที่สุดก็จะใช้เม็ดเงินเข้ามาลงทุนมาก โดยหารู้ไม่ว่าการลงทุนกับคนนั้นการให้ผลลัพธ์สูงเหมือนกันแต่ใช้เงินลงทุน น้อยกว่าด้วยซ้ำ

หากคุณจะเป็น Job Designer

ถ้าจะแบ่งงานย่อยลงไปมากจนส่วนของงานที่รับผิดชอบนั้น ง่ายเกินไป พนักงานอาจจะมองสะท้อนความสามารถของตนเองเหมือนงานที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่มี ความสำคัญ จากการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากร มนุษย์ ทำให้รู้ว่า การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายนั้น จำเป็นที่จะต้องแสวงหากระบวนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ เพื่อให้ทราบขอบเขตหน้าที่งานที่จะต้องปฏิบัติอย่างแท้จริง
การออกแบบงาน ( Job Design ) เป็นกระบวนการกำหนดงานเฉพาะด้านที่จะต้องปฏิบัติหรือวิธีการต่างๆที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัต ิงาน เพื่อให้งานแต่ละงานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน นอกจากนี้การออกแบบงานยังเป็นการกำหนดงานที่บุคลากรต้องปฏิบัติให้บรรลุผล สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ และยังพิจารณารวมถึงการจัดกลุ่มงาน การจัดแผนกงานจนกระทั่งเป็นโครงสร้างองค์การ รวมเรียกว่า กระบวนการแบ่งงานกันทำตามความถนัด
ลองเลือกดูซิครับว่า จากลักษณะงาน 4 ประเภทต่อไปนี้ หน่วยงานของคุณมีลักษณะงานใกล้เคียงประเภทใดมากที่สุด
ประเภทที่ 1 เป็นหน่วยงานที่ยึดหลัก Job Specialization และ Standardization ซึ่งมุ่งหวังให้พนักงาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ( Scientific Management ) โดยแบ่งงานที่มีทั้งหมดย่อยลงไปให้พนักงานแยกกันรับผิดชอบแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละคนจะทำงานประจำที่แตกต่างกัน อย่างชัดเจนทำให้เกิดความชำนาญในงานด้านนั้น ๆ เป็นพิเศษ
ในกรณีที่พนักงานป่วย หรือขาดงานก็สามารถหาคนมาทดแทนได้ง่าย เนื่องจากการแบ่งงานให้ย่อยลงไปนั้น ทำให้งานแต่ละส่วนงานง่ายขึ้น จึงสามารถฝึกหัดอบรมคนทดแทนได้ง่ายด้วย สำหรับด้านการตัดสินใจนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ควบคุมงาน
ประเภทที่ 2 เป็นหน่วยงานที่ยึดหลัก Job Generalization ซึ่งไม่แบ่งงานย่อยลงเท่างานประเภทแรก พนักงานแต่ละคนทำงานประจำที่มีขอบเขตกว้างขึ้น โดยอาจรับผิดชอบงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ( Job Enlargement ) อย่างไรก็ตามด้านการตัดสินใจนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงาน เช่นเดียวกับงานประเภทแรก
ประเภทที่ 3 เป็นหน่วยงานคล้ายคลึงกับหน่วยงานประเภทที่ 2 หากยอมให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ และควบคุมงานของตนเองได้บ้างในบางระดับ ( Job Enrichment )
ประเภทที่ 4 เป็นหน่วยงานที่แตกต่างจากทั้งสามประเภทโดยสิ้นเชิง เนื่องจากหน่วยงานข้างต้นเน้นเฉพาะลักษณะงานของพนักงานแต่ละคนเท่านั้น ส่วนหน่วยงานประเภทที่ 4 นี้จะมอบความรับผิดชอบในการวางแผน ปฏิบัติงาน และควบคุมงานให้แก่กลุ่มงาน โดยเฉพาะเมื่องานภายในกลุ่มมีความสัมพันธ์หรือต่อเนื่องกันก็จะทำให้ทุกคนร่วมกันทำงานมากขึ้น ( Autonomous WorkGroups ) ในการทำงานนั้น กลุ่มจะแบ่งงานกันเอง หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงานจะเป็นที่ปรึกษาในการกำหนดเป้าหมาย และช่วยเหลือพนักงานที่มีความชำนาญไม่เพียงพอต่องานด้านต่างๆ หากคุณจะเป็น Job Designer ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกลักษณะงานให้เหมาะสมกับงานด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงาน
แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีบริหารงานแต่ละประเภทนั้นก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง กล่าวคือ
ประเภทที่ 1 Scientific Management เป็นลักษณะงานที่เหมาะสมกับงานที่มีขั้นตอนที่สามารถแบ่งแยกกันได้ชัดเจน หรือเป็นงานที่มีความสำคัญและยากเกินไปสำหรับพนักงานคนหนึ่งคนใดจะรับผิดชอบทั้งหมดได้ การแบ่งแยกงานย่อยลงไปจะช่วยให้พนักงานทำงานในส่วนของตนได้เต็มที่ และมีความผิดพลาดน้อยลงด้วย ซึ่งมีข้อควรระมัดระวัง ดังนี้
ในระยะยาว พนักงานจะเบื่องานได้ง่าย ทำให้ขาดงานหรือลางานบ่อยครั้งขึ้น จึงควรจัดให้มีการโยกย้ายงานในเวลาอันควร ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความรอบรู้ในงานด้านต่าง ๆ มากขึ้นด้วย
ถ้าแบ่งงานย่อยลงไปมากจนส่วนของงานที่รับผิดชอบนั้นง่ายเกินไปพนักงานอาจมองสะท้อนความสามารถของตนเองเหมือนงานที่ตนทำอยู่ไม่สำคัญ
พนักงานอาจละเลยไม่แก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อพบเห็น หรือไม่ใส่ใจกับงานที่เป็นความรับผิดชอบของคนอื่น ดังนั้นจึงควรหาทางให้ทุกคนรับผิดชอบในผลงานสุดท้ายร่วมกันในทางใดทางหนึ่ง
โอกาสสังคมหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีน้อย ในแง่จิตวิทยานั้น พนักงานจะไม่ชอบถูกขัดจังหวะการทำงาน จึงควรชักจูงให้พนักงานร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด
ประเภทที่ 2 Job Enlargment เหมาะสมกับงานที่มีขั้นตอนแน่นอน สามารถกำหนดวิธีตัดสินใจสำหรับปัญหาต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า การขยายขอบเขตงานของพนักงานนั้นจะช่วยลดโอกาสที่จะเบื่องาน และทำให้มีความรู้ความชำนาญ หลายด้านขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวปัญหาของงานประจำจะทำให้เกิดการเบื่องานได้อีก นอกจากนี้งานบาง ประเภทเท่านั้นที่จะขยายขอบเขตงานได้ ซึ่งยังขึ้นอยู่ขนาดขององค์กร
ประเภทที่ 3 Job Enrichment เหมาะสมกับงานที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้ความรู้วางแผนควบคุม และตัดสินใจด้วยตนเองได้บ้างในบางระดับ ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของและรับผิดชอบต่อผลงานของตนมากขึ้น ทั้ง นี้หัวหน้างานจะกระจายอำนาจลงมาให้มากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความรู้ความ ชำนาญของพนักงานว่ามีเพียงพอที่จะทำให้หัวหน้างานเกิดความเชื่อมั่นได้มาก เพียงใด
ประเภทที่ 4 Autonomous Work Groups เป็นแนวการบริหารงานกลุ่มสมัยใหม่ ( Sociotechnical System ) ซึ่งเน้นความสำคัญต่อความสัมพันธ์แบบกลุ่มยิ่งขึ้นกว่าการออกแบบงานเดิม ซึ่ง จำกัดวงเฉพาะงานของแต่ละบุคคลเท่านั้นแนวความคิดนี้จะคำนึงว่างานต่าง ๆ นั้นไม่อาจกำหนดขั้นตอนแน่นอนได้เสมอไปอีกยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสัมคมของ ผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย ( เช่น ระดับการศึกษา แนวความคิดที่ต่างกัน เป็นต้น ) ดังนั้นแต่ละกลุ่มจึงอาจวางแผนและออกแบบงานแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้
โดยสรุปแล้ว การออกแบบงานที่ดี ซึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จะต้องยอมให้พนักงานมีส่วนร่วมต่อการกำหนดมาตรฐาน และสามารถเสนอความคิดเห็นแนะนำได้บ้างโดยมุ่งสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน ให้เกิดขึ้น และสามารถปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างดี