Blogger นี้มีไว้ในการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การดำเนินการทางวินัย

ผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผลการ ดำเนินงานขององค์การ ซึ่งผลการดำเนินงานนั้นเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับ มอบหมาย แต่เมื่อพนักงานมีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่เหมาะสมก็จำเป็นต้องมีการ ดำเนินการทางวินัย เช่น การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร การสั่งพักงาน เป็นต้น แต่การดำเนินการทางวินัยนั้นอาจจะมีผลกระทบในทางลบต่อองค์การตามมาได้หลาย ประการไม่ว่าจะเป็น ขวัญกำลังใจ ค่าใช้จ่าย ฯลฯ และหลายครั้งที่การลงโทษทางวินัยมักจะได้ผลต่อพฤติกรรมพนักงานในระยะสั้น ไม่สามารถกำจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาออกไปอย่างถาวร
นอกจากนี้ ผู้บริหารซึ่งสั่งลงโทษอาจจะกลายมาเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพนักงาน ทำให้พนักงานห่างเหิน และทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงานอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม องค์การจำเป็นต้องมีการดำเนินการทางวินัยเพราะเป็นการระงับพฤติกรรมที่ได้ผล รวดเร็วที่สุด ซึ่งเหตุผลที่องค์การต้องมีการดำเนินการทางวินัยกับพนักงานนั้นมี 2 ประการคือ
  • เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานของพฤติกรรมและผลงานที่องค์การคาดหวังจากการ ปฏิบัติงาน (Reinforce standard)
  • เพื่อกำจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Deter improper conduct)
การดำเนินการทางวินัยที่เหมาะสมทำให้องค์การได้ประโยชน์หลายประการ เช่น ทำให้การบริหารจัดการมีความน่าเชื่อถือ สร้างบรรยากาศแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ สร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงาน สามารถแก้ปัญหาได้แต่เนิ่นๆ และเพิ่มความมั่นใจแก่หัวหน้างาน อีกด้วย
การมีวินัยในตนเอง (Self discipline)
วินัยที่ดีที่สุดคือการมีวินัยในตนเอง ซึ่งการมีวินัยในตนเองตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยากจะประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว การมีวินัยในตนเองเป็นสิ่งที่แสดงถึงการมีอำนาจควบคุมชีวิตตัวเอง เป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา พนักงานโดยทั่วไปจึงต้องการได้รับโอกาสในการควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบที่ตน เองเป็นผู้กำหนด มากกว่าการถูกควบคุมหรือถูกตั้งกฎระเบียบโดยบุคคลอื่น
ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและมักจะยอมทำตามกฎเกณฑ์ ที่กลุ่มกำหนด ดังนั้นเมื่อพนักงานรู้ถึงสิ่งที่องค์การคาดหวังเขาก็จะพยายามกำหนดพฤติกรรม ที่เชื่อว่าจะนำไปสู่ผลงานที่ดีและสอดคล้องกับมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อสร้างการยอมรับและได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ผู้บริหารที่ดีจึงต้องรู้วิธีการเชื่อมโยงระเบียบวินัยกับการเรียนรู้เพื่อ ให้พนักงานสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขึ้นมาด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับหรือลงโทษ ซึ่งนี่คือหัวใจสำคัญของการสร้างวินัยในตนเอง
กฎแห่งเตาร้อน (Red hot stove)
เมื่อต้องดำเนินการทางวินัยกับพนักงาน ผู้บริหารหลายคนรู้สึกว่าต้องอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก นัยหนึ่งต้องรับผิดชอบต่อองค์การโดยควบคุมผลงานและพฤติกรรมของพนักงาน อีกนัยหนึ่งต้องรับผิดชอบต่อพนักงานโดยสร้างความพึงพอใจและลดความขุ่นเคือง ลง การต้องดำเนินการทางวินัยโดยไม่สร้างความเจ็บปวดแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถทำ ได้โดยใช้ “กฎแห่งเตาร้อน (Red hot stove)” ที่เปรียบวินัยเหมือนเตาไฟที่กำลังร้อนซึ่ง
  • ผู้ใดพลั้งเผลอไปสัมผัสก็จะถูกไฟลวกทันที (Burn immediately)
  • ผู้ที่ได้พบเห็นเตาไฟขณะกำลังร้อน ย่อมรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นหากไปสัมผัสเข้า (Advance warning)
  • เมื่อใดก็ตามเผลอไปสัมผัสย่อมถูกไฟลวก (Consistent)
  • ไม่ว่าใครก็ได้รับผลเหมือนกัน (impersonal)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น