การจัดการ HR
Blogger นี้มีไว้ในการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556
การบริหารพนักงานดาวเด่น (Talent Management) ตอน 2: สรรหาดาวเด่น เฟ้นหาคนดี
ผลการปฏิบัติงาน (Performance) แน่นอนว่า ผลการปฏิบัติงานคือสิ่งที่สะท้อนความรู้ ความสามารถของพนักงานได้เป็นอย่างดี หลายๆท่านอาจจะบอกว่าบางครั้ง ผลการปฏิบัติงานเชื่อถือไม่ได้ อาจจะเกิดจากอคติ หรือระบบการประเมินผลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้แสดงออกซึ่งสิ่งที่ พนง. contribute หรือมีการให้โควตากันในหน่วยงาน บลาๆๆๆๆ แต่ท่านลองกลับไปมองดูเถิดว่า ผลการปฏิบัติงานในระดับ “ดีเลิศ” หรือ “Superior” นั้น มันจะมีเจ้าของอยู่ หมายความว่าไง มันก็หมายความว่า คนๆนั้น โดดเด่นเหนือพนักงานคนอื่นมาโดยตลอด ยิ่งพวกที่เปลี่ยนนายมาหลายคนหรือโดนโอนย้ายบ่อยๆ แต่ก็ยังคงรักษาผลการปฏิบัติงานในระดับนี้ไว้ได้สม่ำเสมอ แล้วอย่างนี้จะไม่ให้คนๆนี้ น่าสนใจได้เช่นไรเล่า
ศักยภาพ (Potential) เรื่องของ potential หรือความสามารถในการที่จะรับผิดชอบงานที่มีความสำคัญกว่าเดิมนี้ เป็นปัญหาโลกแตก ที่เราถกเถียงกันมาแต่นานนม ตั้งแต่เรื่องที่ว่ามันเป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอัน พาลจะทะเลาะกันเพราะไอ้คำว่า potential นี่แหละ ไม่เว้นแม้แต่ที่บริษัทผม กรรมการหลายๆท่าน กรุณาให้คำชี้แนะผมถึงขนาดว่า ถ้าอยากให้ project นี้มัน run ได้ เอาออกไปเถอะไอ้ potential เนี่ย ไม่งั้นทะเลาะกันตายแน่ๆ แต่หลังจากที่ผมที่อธิบาย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็น เนื่องจากเราตั้งความหวังไว้ว่า คนกลุ่มนี้จะเติบโตขึ้นมารับบทบาทสำคัญๆในองค์กร รวมถึงชี้ให้ท่านๆเหล่านั้นเห็นและเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง performance กับ potential และ วิธีการหรือเครื่องมือ ในการประเมินศักยภาพที่ว่า ทำให้หลายๆท่านเริ่มคล้อยตามและเห็นดีเห็นงามกับผมไปด้วย จะเหลือก็แต่บางที่ยังคงเคลือบแคลงสงสัย ก็ไม่เป็นไร ผมก็ตามไปลอบบี้ อธิบายจนท่านได้เข้าใจในภายหลัง โดยวิธีการที่ผมใช้ในการวัดระดับศักยภาพพนักงานนั้น เราใช้วิธีการดังต่อไปนี้
2.1 Job Enrichment (การเพิ่มคุณค่างาน) หรืออาจจะเรียกอื่นๆแตกต่างกันไปก็แล้วแต่ แต่ผมจะเรียกว่า การให้งานที่มันยากขึ้น อาจจะไม่ถึงขั้น challenging job แต่เป็นงานที่ยากและมีคุณค่า
มากกว่าเดิมที่รับผิดชอบ โดยใน พนง.ระดับ supervisor ซึ่งถือว่าเป็นระดับล่างสุดที่เราเริ่มทำ talent management เราจะมอบหมายงาน “บางส่วน” ซึ่งเป็นงานที่ผู้จัดการทำอยู่ โดยไม่ทำให้
ผจก.รู้สึกว่า ถูกลดความสำคัญลง อ่านถึงตรงนี้ หลายๆท่านคงจะเริ่มมองภาพออกว่าผมจะจัดการยังไงต่อกับ พนง.ระดับ ผจก.เหล่านั้น เราก็จะใช้วิธีเดียวกับนี้กับ พนง.ระดับ ผู้จัดการ โดยการมอบ
หมายงานในระดับที่สูงขึ้นไป ไล่กันไปเรื่อยๆ
2.2 Promotion history (ประวัติการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง) เป็นที่น่าสังเกตว่า พนง.ในกลุ่มนี้ จะมีประวัติในการได้รับการเลื่อนขึ้น เลื่อนตำแหน่ง ที่ค่อนข้าง “เร็ว” กว่าพนักงานกลุ่มอื่นๆ เราพบว่า
หลายต่อหลายท่านได้รับการ promote ทุกปี และ/หรือ ปีเว้นปี ข้อมูลนี้ เป็นตัวบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า เขามีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาตนเอง ในการรับผิดชอบงานที่ยากหรือมีความรับผิดชอบมาก
ยิ่งขึ้น หลายท่านอาจจะอยากแย้งผมว่า อ้าว!! แล้วถ้าพนักงานที่ว่านั้น โดนดองเพราะนายไม่ชอบนี้หน้าล่ะ ผมก็อยากจะบอกท่านว่า โดยธรรมชาติของ “คนเก่ง” นั้น เขาจะไม่อยู่ให้ท่านปวดหัวหรอก
ครับ หากเค้าคิดว่านายมันห่วยและตัวเองเป็นของจริง คิดเหรอครับว่าเขาจะไม่ออกไปหาอนาคตที่อื่น
2.3 Masterpieces (ผลงานชิ้นโบว์แดง) ผมอาจจะโชคดีอยู่บ้าง ที่ในองค์กรผมนี้ จะทำการบันทึกผลงานชิ้นโบว์แดง ของพนักงานที่ได้รับการโปรโมท เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเสมอ ผลงานนี้เป็นสิ่งที่
แสดงออกให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ของพนักงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยการ initiate และใส่ effort ในการทำงานมากๆ เราจึงนำมาเป็นหนึ่งในการพิจารณาหาคนเก่งใน
องค์กรของเรา
3. Competency (ความรู้ ความสามารถ) ในการพิจารณาความรู้ ความสามารถของพนักงานนี้ เราได้ทำการกำหนด competencies ที่เป็น It's must หรือ "จำเป็นต้องมี" ของพนักงานในกลุ่มนี้ อาจจะ
เรียกได้ว่า เป็น talent core competency เลยก็ว่าได้ หลักๆที่เราให้ความสำคัญได้แก่ 1.ภาษาอังกฤษ 2.การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3.ความคิดริเริ่ม 4.การนำนโบบายไปปฏิบัติ 5.ความมุ่งมั่น ทุ่มเท
และท้ายสุด สุดท้ายเรื่องที่ 6.People Management ซึ่งการจัดการคนในความหมายของเรา ไม่ได้หมายถึงการจัดการลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา แต่มันหมายถึงการจัดการคนที่เราต้องติดต่อ
ประสานงานหรือปฏิสัมพันธ์ด้วย การกำหนดบทบาทของตัวเองในแต่ละสถานะ และการจัดการคนเหล่านั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่คาดหวังเป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะถูกดึงขึ้นมาจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ประจำปีของพนักงานนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น