คำว่า "แม่" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้ดำเนิดหรือเลี้ยงดูตน" แต่ความเป็นจริงแล้ว ความหมายของคำว่า "แม่" มิได้หมายถึงหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูกเท่านั้น ทั้งนี้เพราะคำว่า "แม่" มีความหมายที่ยิ่งใหญ่และเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตของลูกๆทุกคน แม่เป็นทั้งครู เป็นทั้งพ่อและแม่ เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตลูก
คำในภาษาไทยที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่ด้วย แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ ดังนี้
๑. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำ เพื่อใช้เรียกผู้หญิงที่ทำการบางอย่างหรือมีลักษณะบางอย่าง ได้แก่
แม่ค้า - ผู้หญิงที่ทำกิจการค้า
แม่ครัว - ผู้หญิงที่มีหน้าที่ปรุงอาหาร
แม่ชี - คำเรียกผู้หญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว ถือศีล
แม่ยก - ผู้หญิงที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระเอกลิเก
แม่บ้าน - ผู้หญิงที่เป็นภรรยาของพ่อบ้าน, ผู้หญิงที่เป็นผู้จัดการงานในบ้าน, ผู้หญิงที่เป็นผู้จัดการงานในสถานที่ต่างๆ
แม่นม - ผู้หญิงที่ให้เด็กอื่นดื่มนมตนแทนนมแม่
แม่พระ - คำเรียกผู้หญิงทีี่มีจิตใจเมตตาปราณีชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ
แม่เพลง - ผู้หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ
แม่สื่อ - ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน
แม่เหย้าแม่เรือน - ผู้หญิงที่เป็นผู้ดูแลบ้านเรือน
แม่เล้า - ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย
แม่ม่าย - ผู้หญิงที่มีสามีแล้ว แต่สามีตายหรือหย่าร้างกันไป
แม่ม่ายทรงเครื่อง - แม่ม่ายที่มั่งมีเงินทอง
แม่ยาย - แม่ของภรรยา
แม่ร้าง - ผู้หญิงที่เลิกกับสามี
แม่รีแม่แรด - ผู้หญิงที่ทำเจ้าหน้าเจ้าตา
แม่ยั่วเมือง - คำเรียกพระสนมเอกในสมัยโบราณ
แม่อยู่หัว - คำเรียกพระมเหสี
แม่คุณ - คำพูดเอาใจหญิงหรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่
แม่คู่ - นักสวดผู้ขึ้นหน้าบท
แม่งาน - หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง
แม่เจ้า - คำเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร
แม่เ้จ้าประคุณ - คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชันแล้วแต่น้ำเสียง
แม่ครัว - ผู้หญิงที่มีหน้าที่ปรุงอาหาร
แม่ชี - คำเรียกผู้หญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว ถือศีล
แม่ยก - ผู้หญิงที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระเอกลิเก
แม่บ้าน - ผู้หญิงที่เป็นภรรยาของพ่อบ้าน, ผู้หญิงที่เป็นผู้จัดการงานในบ้าน, ผู้หญิงที่เป็นผู้จัดการงานในสถานที่ต่างๆ
แม่นม - ผู้หญิงที่ให้เด็กอื่นดื่มนมตนแทนนมแม่
แม่พระ - คำเรียกผู้หญิงทีี่มีจิตใจเมตตาปราณีชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ
แม่เพลง - ผู้หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ
แม่สื่อ - ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน
แม่เหย้าแม่เรือน - ผู้หญิงที่เป็นผู้ดูแลบ้านเรือน
แม่เล้า - ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย
แม่ม่าย - ผู้หญิงที่มีสามีแล้ว แต่สามีตายหรือหย่าร้างกันไป
แม่ม่ายทรงเครื่อง - แม่ม่ายที่มั่งมีเงินทอง
แม่ยาย - แม่ของภรรยา
แม่ร้าง - ผู้หญิงที่เลิกกับสามี
แม่รีแม่แรด - ผู้หญิงที่ทำเจ้าหน้าเจ้าตา
แม่ยั่วเมือง - คำเรียกพระสนมเอกในสมัยโบราณ
แม่อยู่หัว - คำเรียกพระมเหสี
แม่คุณ - คำพูดเอาใจหญิงหรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่
แม่คู่ - นักสวดผู้ขึ้นหน้าบท
แม่งาน - หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง
แม่เจ้า - คำเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร
แม่เ้จ้าประคุณ - คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชันแล้วแต่น้ำเสียง
๒. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ได่แก่
แม่แคร่ - กรอบไม้หรือไม่ไผ่ประกับปคร่ทั้ง ๔ ด้าน
แม่กระได - ไม้ยาว ๒ อัน ที่ขนาบสำหรับสอดใส่หรือตีลูกบันได
แม่บท - หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท หลัก เช่น โครงการแม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรํา
แม่เตาไฟ - ไม้สี่เหลี่ยมที่เป็นกรอบกรุดินสำหรับวางก้อนขี้ลา เกียง หรือเตาวง
แม่ปะ - ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ท้ายต่อไม้นกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่องมักใช้ถ่อ
แม่พิมพ์ - สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ
แม่แรง - เครื่องสำหรับดีดงัดหรือยกของหนัก
แม่วี - คอกจับช้างขนาดเล็ก
แม่สี - กลุ่มสีที่สามารถผสมออกมาเป็นสีอื่นๆได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า "เบญจรงค์"
แม่เหล็ก - แร่หรือโลหะที่มีคุณสมบัติดูดเหล็กได้
แม่หินบด - แท่งหินสี่เหลี่ยมหรือกลม มีร่องด้านข้างโดยรอบสำหรับบดยาคู่กับลูกหินบด
แม่กระได - ไม้ยาว ๒ อัน ที่ขนาบสำหรับสอดใส่หรือตีลูกบันได
แม่บท - หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท หลัก เช่น โครงการแม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรํา
แม่เตาไฟ - ไม้สี่เหลี่ยมที่เป็นกรอบกรุดินสำหรับวางก้อนขี้ลา เกียง หรือเตาวง
แม่ปะ - ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ท้ายต่อไม้นกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่องมักใช้ถ่อ
แม่พิมพ์ - สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ
แม่แรง - เครื่องสำหรับดีดงัดหรือยกของหนัก
แม่วี - คอกจับช้างขนาดเล็ก
แม่สี - กลุ่มสีที่สามารถผสมออกมาเป็นสีอื่นๆได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า "เบญจรงค์"
แม่เหล็ก - แร่หรือโลหะที่มีคุณสมบัติดูดเหล็กได้
แม่หินบด - แท่งหินสี่เหลี่ยมหรือกลม มีร่องด้านข้างโดยรอบสำหรับบดยาคู่กับลูกหินบด
๓. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำ เพื่อยกย่องเทวดาหรือผีที่ดูแลรักษาหรือเข้าทรง ได้แก่
แม่ซื้อ - เทวดาหรือผีที่เชื่อว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก
แม่มด - ผู้หญิงที่ใช้เวทย์มนต์บังคับภูตผีให้ช่วยทำอะไรบางอย่างที่ผิดปกติธรรมดาได้ ผู้หญิงที่ทรงเ้จาเข้าผี
แม่ย่านาง - ผีผู้หญิงประจำเรือ
แม่ศรี - ชื่อการละลเ่นสมัยโบราณอย่างหนึ่งโดยเชิญผีแม่ศรีมาเข้าทรงหญิงสาว หญิงสาวที่ถูกผีเข้าทรงจะรำได้อย่างสวยงาม นิยมเล่นในเทสกาลสงกรานต์
แม่มด - ผู้หญิงที่ใช้เวทย์มนต์บังคับภูตผีให้ช่วยทำอะไรบางอย่างที่ผิดปกติธรรมดาได้ ผู้หญิงที่ทรงเ้จาเข้าผี
แม่ย่านาง - ผีผู้หญิงประจำเรือ
แม่ศรี - ชื่อการละลเ่นสมัยโบราณอย่างหนึ่งโดยเชิญผีแม่ศรีมาเข้าทรงหญิงสาว หญิงสาวที่ถูกผีเข้าทรงจะรำได้อย่างสวยงาม นิยมเล่นในเทสกาลสงกรานต์
๔. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำ เพื่อยกย่องเทวดา ได้แก่
แม่พระคงคา - เทพธิดาประจำน้ำ, เจ้าแม่แห่งน้ำ
แม่พระธรณี - เทพธิดาประจำแผ่นดิน, เจ้าแม่แห่งแผ่นดิน
แม่โพสพ - เทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว
แม่พระธรณี - เทพธิดาประจำแผ่นดิน, เจ้าแม่แห่งแผ่นดิน
แม่โพสพ - เทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว
๕. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำที่เป็นสัตว์ และธรรมชาติ ได้แก่
แม่กระแชง - ปลาสลิดแห้งชนิดใหญ่
แม่หนัก - ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง
แม่เบี้ย - แผงคองูที่แผ่ออกและชูขึ้น
แม่หนัก - ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง
แม่เบี้ย - แผงคองูที่แผ่ออกและชูขึ้น
๖. คำที่มีคำว่า "แม่" ประกอบอยู่หน้าคำ เพื่อใช้เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนาย และเป็นแบบอย่าง ไม่จำกัดว่าเป็นหญิง หรือชาย ได้แก่
แม่ทัพ - ผู้มีหน้าที่คุมกองทัพ เช่น แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ แม่ทัพภาค
แม่พิมพ์ - ครู อาจารย์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์
แม่พิมพ์ - ครู อาจารย์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์
ที่มา : วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๘ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น