Blogger นี้มีไว้ในการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น


วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แกะดำ

ไม่รู้เป็นเพราะ “ฮอร์โมน” ของ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) บางคนเกิดความพลุ่งพล่าน จนควบคุมไม่ได้หรือเปล่า เลยมีผลทำให้องค์กรสำคัญที่ทำหน้าที่ดูแลธุรกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม กำลังเกิดความสับสนและมีปัญหาไม่จบสิ้น

แม้กระทั่งกระบวนการ “ทำประชาพิจารณ์” ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มักใช้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม เพื่อสร้างความโปร่งใส ให้เกิดขึ้นกับการผลักดันโครงการต่าง ๆ แต่ทำไปทำมา กสทช. บางคน กำลังทำให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหา จนเกิดข้อครหาเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ

ที่มาของเรื่องสืบเนื่องมาจาก “เวทีประชาพิจารณ์” ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ กรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสทช. เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา ถูกจัดขึ้น โดยได้รับความสนใจจากตัวแทนจากผู้ประกอบการ รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

งานนี้ “พ.อ.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ” รองประธาน กสทช.  และ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยืนยันว่า เวทีที่จัดขึ้นเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นและจริงใจ ในการแก้ปัญหาและหามาตรการป้องกัน ’ซิมดับ“ ของ กสทช. รวมทั้งเปิดเวทีให้หลายฝ่าย ร่วมแสดงความเห็นต่อร่างมาตรการเยียวยาดังกล่าว

โดยยืนยันว่า ร่างมาตรการเยียวยาที่ กสทช. นำมาใช้นั้น คำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ’ซิมดับ“ เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน

ส่วนตัวแทนจากผู้ประกอบการค่ายมือถือทุกค่าย มีความเห็นในแนวทางที่ตรงกันว่า กสทช. มีอำนาจในการออกร่างประกาศในการขยายเวลาการคุ้มครองผู้บริโภค หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 15 ก.ย.นี้ และควรให้ผู้ได้สัมปทานให้บริการต่อเนื่อง เพราะมีใบอนุญาตและอุปกรณ์อยู่แล้ว

รองประธาน กสทช. กล่าวภายหลังจากการทำประชาพิจารณ์ว่า จะรวบรวมความเห็นทั้งหมด และนำเข้าพิจารณาในการประชุมบอร์ด กทค. ในวาระต่อไป ก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสทช. ในวันที่ 14 ส.ค. นี้ เพื่อให้ทันต่อการบังคับใช้ ก่อนหมดระยะเวลาสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.

สอดคล้องกับความเห็นนักวิชาการ “ผศ.สุรวุธ กิจกุศล” รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งออกมายืนยันว่า กสทช. ในฐานะองค์กรดูแลบริหารจัดการคลื่น สามารถออกประกาศมาตรการเยียวยา ในลักษณะเช่นนี้ได้ และวิธีการมีผลดีต่อผู้บริโภคที่สุด คือ ให้ผู้ให้บริการรายเดิมดูแลลูกค้าต่อไปก่อนชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะระบบอุปกรณ์โทรศัพท์ที่ใช้ก็ยังเหมือนเดิม หากจะย้ายค่ายหรือใช้ค่ายเดิม ก็สามารถทำได้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี

ได้ข้อสรุปจากกระบวนการทำประชาพิจารณา บวกรวมกับความเห็นของนักวิชาการ เรื่องก็น่าจะจบ เพราะผู้บริโภคกำลังรอมาตรการเยียวยาจาก กสทช. อยู่ แต่กรรมการ กสทช. บางคน จะเปิดเวทีประชาพิจารณ์ขึ้นมาใหม่ หลังจาก “นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา” กับ “น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์” 2 กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาเคลื่อนไหว ประกาศจัดเวทีสาธารณะเรื่อง “ทางเลือกการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อสัญญาสัมปทานบริการมือถือสิ้นสุด” วันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา

เลยมีคำถามว่า เวทีดังกล่าวต้องการหักล้าง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ทั้ง ๆ ที่เป็นการดำเนินการโดย กสทช. หรือต้องการถลุงงบประมาณ หวังจัดกิจกรรม สนองความต้องการของตนเอง โดยไม่สนใจว่า จะก่อให้เกิดความสับสน และสร้างผลกระทบกับประชาชน เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 17 ล้านราย กำลังรอความชัดเจน และความช่วยเหลืออยู่

บอกตรง ๆ เห็นนี้เห็นการกระทำของ นพ.ประวิทย์ และน.ส.สุภิญญา ทำให้ผมเกิดคำถามว่า ขณะที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันแก้ปัญหา แต่กลับมี กสทช. บางคนมักออกมาขวางลำ เพื่อค้านทุกความคิดเห็น ทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมหรือส่วนตัวกันแน่ครับ.
เขื่อนขันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น